รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
ที่มาและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนับว่ามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญถาวรในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่เกิดขึ้นในอดีตเปรียบเทียบกัน ก็จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นที่มา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
1. ยืนยันความเป็นเอกราชของประเทศไทย
2. รับรองความเป็นเอกรัฐของประเทศไทย
3. ยืนยันว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข ซึ่งทรงใช้อำนาจ ผ่านทางรัฐสภา
คณะรัฐมนตรีและศาล
รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้บัญญัติหลักการสำคัญ ๆ ไว้ด้วยกัน 4
ประการดังนี้
1.
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
2.
การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
3.
การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
4.
การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1.เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ
2.ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด
บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล
รัฐสภา
1.ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
2.ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานวุฒิสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
3.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติจะตราเป็นกฎหมายได้ก็โดคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
4.สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก
500 คนอยู่ในตำแหน่งกำหนด 4 ปี จากวันเลือกตั้ง
5.พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
6.ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐกำหนดมีสิทธิเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสมอกัน
7.การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
8.การประชุมสภาฯองค์ประชุมต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
9.ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม
2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน
10.วุฒิสภา
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน
คณะรัฐมนตรี
1.พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอันประกอบด้วย
นายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35
คน
2.ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนากยกรัฐมนตรี
3.นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี
4.ก่อนเข้ารับหน้าที่
ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
5.นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำและต้องไม่ดำรง
ตำแหน่งหรือกระทำการใด ๆ
ที่มีลักษณะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่
6.คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาพและชี้แจงการดำเนินการตาม
นโยบายพื้นฐานโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
7.ในการบริหารราชการแผ่นดินรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติและ
ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน
8.
รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี บริบูรณ์
-
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
-
ไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก
-
ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสิ้นสุดลงแล้วไม่เกิน 2 ปี
9. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
เมื่อ
-
อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือเมื่อมีการยุบสภา
-
คณะรัฐมนตรี ลาออก
-
ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
10.ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ
- ตาย
- ลาออก
- ขาดคุณสมบัติ
- สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
- ต้องพิพากษาให้จำคุก
- มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
- กระทำการอันต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
- วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
11.
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่า
คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ศาล
1.การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล
2.การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหรือวิธีพิจารณาเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะกระทำมิได้
3.ในคดีอาญา
ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณา คดีที่ถูกต้องด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม
4.ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
5.ก่อนที่เข้ารับหน้าที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
6.ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คนและตุลาการศาล รัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน
โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี
7.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด
8.
ศาลยุติธรรมมีสามชั้นคือ
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
9.
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ
10.ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา และคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมือง การเลือกตั้ง
รัฐบาล และการจัดตั้งรัฐบาล
พรรคการเมือง
1.ความหมายของพรรคการเมืองคือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่คล้ายคลึงกัน
2.บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
- วางนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
- พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
- การดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง
- นำนโยบายของพรรคที่ได้แถลงแก่ประชาชน
- ให้การศึกษาและอบรมความรู้ทางการเมือง
-
หน้าที่ในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล
การเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญ
ดังนี้
1.เป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย
2.เป็นวิธีการที่ใช้เปลี่ยนอำนาจทางการเมืองการปกครองที่ทันสมัยและเป็นไปอย่างสันติวิธี
3.ป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร
4.เป็นวิธีการที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนอำนาจ
5.เป็นวิธีการสร้างความถูกต้องและชอบธรรมในการใช้อำนาจทางการเมือง
หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง
1.หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง
(การให้อิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้งโดยมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกใครหรือพรรคการเมืองใดก็ได้
)
2.หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
( การเลือกตั้งต้องมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ )
3.หลักการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
(เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ไม่มีการคดโกง )
4.หลักการใช้สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค(ให้สิทธิ
ไม่มีการกีดกันหรือจำกัดสิทธิบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ )
5.หลักการออกเสียงทั่วไป (
เปิดโอกาสให้มีการออกเสียงอย่างทั่วถึงแก่ประชาชน )
6.6. หลักการลงคะแนนลับ (
การออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนเป็นสิทธิของผู้เลือกตั้งโดย เด็ดขาด ได้รับการปกป้องโดยการออกเสียงลงคะแนนลับ )
การรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของการเลือกตั้ง
ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างยุติธรรมที่สุด
ปราศจากการทุจริตคดโกงต่าง ๆ
สิ่งเลวร้ายที่เรามักจะพบเป็นกันอยู่เสมอ
คือ
1.
การใช้อิทธิพลจากทางราชการ
2. การทำลายคู่แข่งขัน
3.
การใช้เงินเพื่อซื้อคะแนนเสียง
รัฐบาล
คือคณะบุคคลและองค์กรซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารประเทศและบังคับใช้กฎหมายต่าง
ๆ
1.หน้าที่ของรัฐบาล
-
เป็นผู้กำหนดนโยบายว่าจะกระทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
- นำนโยบายไปปฏิบัติทำให้เกิดผลอย่างแท้จริง
2. ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับความสามารถและความรับผิดชอบของ
คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลซึ่งรัฐบาลที่ดีควรมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ความสามารถในการตอบสนอง
- ความสามารถในการรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ความสามารถในการติดตามและควบคุม
-
ความสามารถในการประสานงาน
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2550
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น
ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยมาตรา 87
รวมทั้งยังได้กำหนดหลักเกณฑ์
และ วิธีการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐขึ้น
เพื่อให้ผู้ใช้อำนาจรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรมอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น